หน้าแรก >> เกี่ยวกับ

เกี่ยวกับ


บทนำ


ฝ่ายประมงของศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ทำการทดลองพัฒนารูปแบบเทคนิคการเลี้ยงกุ้งแผนใหม่ซึ่งเป็นหนึ่งในงานวิจัยร่วมเช่นกัน เทคนิคใหม่นี้เกี่ยวข้องกับการขยายพันธุ์สาหร่ายที่ไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานด้านนิเวศวิทยาในบ่อเลี้ยง ระบบนี้เป็นวิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำอย่างยั่งยืน และเป็นระบบที่มีค่าใช้จ่ายน้อย อีกทั้งสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นยังสามารถเป็นแหล่งอาหารเสริมสำหรับกุ้งได้อีกด้วย นอกจากนี้ระบบดังกล่าวยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของผู้ผลิตกุ้งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นระบบที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และส่งเสริมเรื่องของความปลอดภัยด้านอาหารสำหรับประเทศผู้ผลิต และผู้บริโภคอีกด้วย

เมื่อมีการพัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้งกุลาดำร่วมกับสาหร่าย จึงมีการศึกษาภาคสนามบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง และแหล่งน้ำกร่อย (ยกเว้นเขตอุทยานแห่งชาติ และพื้นที่หวงห้าม) ของไทย เพื่อเลือกชนิดสาหร่ายที่มีความเหมาะสมต่อระบบการเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยได้มีการสำรวจสาหร่ายทะเล และหญ้าทะเลกว่า 130 ชนิด เพื่อคัดแยกชนิดที่เหมาะสมกับระบบการเลี้ยงกุ้งร่วมกับสาหร่าย ข้อมูลจากการสำรวจสาหร่ายทะเล และหญ้าทะเลเหล่านี้ ได้ถูกรวบรวมไว้ในเว็บไซต์นี้ด้วยความคาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมชายฝั่งในพื้นที่เขตร้อน

พวกเราจะทำการปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และเพิ่มจำนวนชนิดสาหร่ายลงในฐานข้อมูลนี้ต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเว็บไซต์นี้จะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ และระบบนิเวศชายฝั่งที่มีความสัมพันธ์กับพืชใต้น้ำ และเพื่อเป็นการพัฒนานิเวศวิทยาชายฝั่งอย่างยั่งยืนในกลุ่มประเทศเขตร้อน รวมถึงยังเป็นการช่วยยกระดับรูปแบบการดำเนินชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งอีกด้วย

กิตติกรรมประกาศ


ข้อมูลส่วนหนึ่งในหน้าเว็บไซต์นี้เกิดจากความร่วมมือในการทำงานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น

งานวิจัยนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปราศจากการสนับสนุนจากหน่วยงานดังต่อไปนี้: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่อนุญาตให้พวกเราทำงานวิจัยในประเทศไทย และมูลนิธิโตโยต้าประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนทุนวิจัยบางส่วนสำหรับการทำงานภาคสนาม (ภายใต้โครงการ D06-R-0694: การสำรวจทางนิเวศวิทยาของแหล่งพืชใต้น้ำและการผลิตหนังสือภาพพืชทะเล: การปกป้องแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิตทางทะเล)

ขอแสดงความขอบคุณเป็นพิเศษต่อ ดร.โช กาโต (มหาวิทยาลัยโกเบ ประเทศญี่ปุ่น) และ ดร.ฟูมิเอะ คาซาอิ และนางสาวมิวะ อิชิโมโต (สถาบันการศึกษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประเทศญี่ปุ่น) สำหรับความเอื้อเฟื้อในการแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับอนุกรมวิธาน รวมถึง ดร.โทชิโนบุ เทระวากิ (สถาบันวิจัยประมง และสิ่งแวดล้อมทางทะเล ศูนย์วิจัยประมงของประเทศญี่ปุ่น) และ ดร.ชิเอโกะ มัตซุยอิ (ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น) สำหรับคำแนะนำในข้อบกพร่องของต้นฉบับ

พวกเรายังมีความปรารถนาที่จะแสดงความขอบคุณต่อ นายเคนตะ คูซุดะ นางสาวมิชิ คากะ และนางสาวคาโอริ โอซาวะ (มูลนิธิโตโยต้าประเทศญี่ปุ่น) สำหรับความช่วยเหลือในการให้คำแนะนำ และนางสาวขนิษฐา ศรีจันทร์งาม นางสาวขนิษฐา โลหะประเสริฐ และนางมาลี ชายทุ่ย สำหรับการอำนวยความสะดวกในการสำรวจภาคสนาม รวมถึงนางสาวพรรณี ปัญญาวัฒนาพร และนางสาวรพีพร ฤกษ์พุฒิ (วช.) สำหรับคำแนะนำเกี่ยวกับงานวิจัยในประเทศไทย

ขอขอบคุณอย่างจริงใจสำหรับความช่วยเหลือ และการสนับสนุนของบุคคลดังต่อไปนี้: รองศาสตราจารย์ศักดิ์ชัย ชูโชติ (คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) และดร.มาซะโยชิ ซาอิโต (ผู้อำนวยการโครงการของศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น)

ลิขสิทธิ์และข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ


ฐานข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น (JIRCAS) คุณอาจจะเข้าถึงเว็บไซต์นี้จากลิงค์อื่นได้เฉพาะหน้าแรกเท่านั้น โดยไม่สามารถเฉพาะเจาะจงไปที่หน้าอื่น หรือรูปภาพใดๆ ในฐานข้อมูลนี้โดยตรงจากลิงค์อื่นได้ ซึ่งทางผู้แต่ง หน่วยงาน JIRCAS และผู้ที่มีส่วนร่วมในองค์กรไม่ขอรับประกัน หรือรับรองความถูกต้อง ความเที่ยงตรง ของข้อมูลในเว็บไซต์ และไม่มีความตั้งใจที่จะนำเสนอข้อมูลของพืชทะเลเพื่อใช้ประโยชน์ในแง่ของอาหาร ยา และอื่นๆ

ผู้มีส่วนร่วม


อิซาโอะ ซูซุยอิ (นักวิจัยฝ่ายประมง ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น)
คาโอรุ ฮามาโน (หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยครัสเตเชีย สถาบันวิจัยประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเล ศูนย์วิจัยประมงของประเทศญี่ปุ่น)
ดุสิต เอื้ออำนวย (อาจารย์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.)
จารุวรรณ สงพัฒน์แก้ว (ผู้ช่วยนักวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการโครงการเลี้ยงกุ้งร่วมกับสาหร่าย)
ชลดา มีอนันต์ (นักวิจัยทุน ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น)
สิริมาศ กลมกลิ้ง (ผู้ช่วยนักวิจัย ห้องปฏิบัติการโครงการเลี้ยงกุ้งร่วมกับสาหร่าย)
หฤทัยชนก สุขฉัย (ผู้ช่วยนักวิจัย ห้องปฏิบัติการโครงการเลี้ยงกุ้งร่วมกับสาหร่าย)
มณฑล แก่นมณี (รองคณบดี คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.)
ปวีณา ทวีกิจการ (หัวหน้าหลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.)
สุนีรัตน์ เรืองสมบูรณ์ (รองศาสตราจารย์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.)
ประพันธ์ศักดิ์ ศรีษะภูมิ (รองศาสตราจารย์ คณะประมง มก.)
ยูกิโอะ มาเอโนะ (ผู้อำนวยการฝ่ายประมง ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น)



อัพโหลด 24 ต.ค. 2555
ปรับปรุงล่าสุด 24 ต.ค. 2555